สรรพคุณของกระเทียมอย่างเจ๋ง ช่วยลดความเสี่ยงได้หลายโรค

by plantlover
กระเทียม

กระเทียม เป็นพืชสมุนไพรมีฤทธิ์ทางยาหลายอย่าง มีการยกย่องให้เป็นสมุนไพรที่ให้ประโยชน์ทางยาสูงสุดชนิดหนึ่ง เป็นพืชที่ค่อนข้างแตกต่างจากพืชทั่วไป เพราะอุดมไปด้วยสารสำคัญในปริมาณมาก นอกจากนี้ยังประกอบไปด้วยสารอาหารอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งล้วนเป็นสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และเป็นเครื่องเทศชนิดที่นิยมนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารไทย อุดมไปด้วยไฟโตนิวเทรียนท์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ถ้าอยากรู้ว่าพื้ชผักชนิดนี้เจ๋งแค่ไหน Plantlover ได้เตรียมข้อมูลมาให้ทุกคนได้อ่านกันในบทความนี้แล้ว ไปติดตามกันได้เลย

สารออกฤทธิ์สำคัญในกระเทียม

1. ไดซัลไฟด์ ช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอลและไขมันในเลือด

2. อัลลิซิน ช่วยต่อต้านเชื้อแบคทีเรียและลดอาการอักเสบ

3. อัลลิอิน มีคุณสมบัติเป็นสารปฏิชีวนะ

4. เซลิเนียม เป็นสารแอนติออกซิแดนท์ ควบคุมการทำงานของร่างกายให้อยู่ในภาวะปกติ

5. กำมะถัน ป้องกันโรคผิวหนังหลายชนิด บำรุงข้อต่อและกล้ามเนื้อ

กระเทียม

คุณค่าทางอาหาร

เป็นพืชล้มลุกที่หัวมีลักษณะเป็นทรงกระเปาะอยู่ใต้ดิน เช่นเดียวกับหัวหอม แต่ละหัวจะประกอบด้วย 6-10 กลีบ ในกระเทียมสด 1 กลีบประกอบด้วยน้ำ 64.3%  โปรตีน 7.9%  ไขมัน 0.6%  คาร์โบไฮเดรต 16.3%  ให้พลังงานทั้งหมด 98 กิโลแคลอรี

คุณสมบัติและคุณประโยชน์

1. ด้านระบบย่อยอาหาร

เพิ่มความสามารถในการย่อยอาหารของร่างกาย ช่วยกระตุ้นน้ำย่อยในกระเพาะอาหารให้หลั่งออกมาในปริมาณมากขึ้น และเสริมการทำงานของเอนไซม์ที่ช่วยย่อยสารอาหารพวกโปรตีน และเสริมการหลั่งของกรดไฮโดรคลอลิก มีหน้าที่ช่วยย่อยพวกโปรตีนในกระเพาะ

2. ฤทธิ์ในการป้องกันการตีบตันของหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดทั่วไป

สารสำคัญที่พบเฉพาะในกระเทียมเท่านั้นคือ สารอัลไลซิน ซึ่งเป็นสารที่มีส่วนช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือดได้ไม่เกิน 10% ของคอเลสเตอรอลทั้งหมดในร่างกาย มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดหัวใจได้ส่วนหนึ่ง แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ และพฤติกรรมของแต่ละบุคคลด้วยที่จะบ่งชี้ได้ว่าความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจมีอยู่มากน้อยแค่ไหน

3. ฤทธิ์ในการต้านการเกิดเซลล์มะเร็ง

ออกฤทธิ์ในการต่อต้านการเกิดเซลล์มะเร็ง โดยไปกดการแบ่งตัวและการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งในอวัยวะต่าง ๆ สารสกัดจากพืชผักชนิดนี้ สามารถลดปริมาณพิษที่เกิดจากผลข้างเคียงเนื่องจากการใช้ยาต้านมะเร็งเช่น ยาไซโคฟอสฟาไมด์ ซึ่งเป็นยาเคมีบำบัดชนิดหนึ่ง ที่ใช้ในการต่อต้านการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งในทางการแพทย์

4. ช่วยเสริมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ

สารชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ไดอัลริลซัลไฟด์ จะระเหยออกมา เมื่อสูดไอระเหยนี้เข้าสู่ปอดสามารถออกฤทธิ์เป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียอย่างอ่อน และช่วยลดการอักเสบในเนื้อเยื่อต่าง ๆ ได้

กระเทียม

ข้อควรระวัง

ไม่ควรทานในปริมาณที่มากเกินไป สามารถทานได้ไม่เกินวันละ 1 หัว เพราะถ้าทานมาก ๆ ต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน อาจจะทำให้เกิดโลหิตจางหรือภาวะเลือดแข็งตัวช้าได้ ดังนั้น ในคนไข้ที่ต้องเข้าผ่าตัด หรือผู้ป่วยที่ทานยาลดการแข็งตัวของเลือดอยู่ จึงไม่ควรรับประทาน

You may also like

Leave a Comment