หญ้าฝรั่นเครื่องเทศที่แพงที่สุดในโลก

by plantlover
หญ้าฝรั่น

สำหรับประเทศไทยเรานั้นในสมัยก่อนถือได้ว่า เป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีการติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติมาอย่างยาวนานและหนึ่งในสินค้าที่มีการส่งออกนำเข้าจำนวนมากและขึ้นชื่อคือ เครื่องเทศ หญ้าฝรั่น ก็จัดเป็นเครื่องเทศชนิดหนึ่งที่มีราคาแพงมาก เป็นเครื่องเทศที่ถูกใช้เป็นวัตถุดิบในการปรุงอาหาร ให้สีและกลิ่น ส่วนใหญ่มีกลิ่นหอมหรือฉุน และรสชาติค่อนข้างเผ็ดร้อน ซึ่งสกัดมาจากส่วนต่าง ๆ ของพืช เช่น ใบ เปลือก เมล็ด ดอก ผล ราก หัว เครื่องเทศนั้นมักจะแปรรูปโดยการทำให้แห้ง เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาพืช ซึ่งสินค้าพวกนี้ค่อนข้างมีราคาในตลาด และวันนี้เราจะพาทุกคนไปรู้จักกับเครื่องเทศที่แพงที่สุดในโลกกันค่ะ

หญ้าฝรั่น

ข้อมูลทั่วไปของหญ้าฝรั่น

คนไทยอาจจะคุ้นเคยกับเครื่องเทศบางชนิด เช่น พริกแห้ง พริกไทย กานพลู อบเชย เป็นต้น แต่จะมีสักกี่คนที่รู้จัก “หญ้าฝรั่น” ที่มักจะใช้ปรุงอาหารฝรั่งเศส หญ้าฝรั่นมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Crocus sativus  จัดเป็นพืชล้มลุก มีหัวที่เรียกว่า Corm เป็นลักษณะของลำต้นใต้ดิน ส่วนลักษณะของใบจะรียาว เรียวปลาย เหลี่ยมคล้ายหญ้าทั่วไป โดยจะมีก้านดอกแทงออกจากหัวโผล่ขึ้นมาบนดินในฤดูใบไม้ร่วง ดอกมีลักษณะคล้ายดอกบัว เกสรตัวเมียเป็นสีแดงเข้ม ซึ่งจะเป็นส่วนที่นำไปทำเครื่องเทศผ่านการอบแห้ง หรือย่างบนเตาถ่านเพื่อให้น้ำระเหยออก มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นคือ มีสีแดงเข้ม ทำให้หลายครั้งมันถูกนำมาทำเป็นสีย้อมผ้า และด้วยความที่มีกลิ่นหอมทำให้ในสมัยโบราณมีการนำมาทำเป็นน้ำหอม 

หญ้าฝรั่น

ทำไมหญ้าฝรั่นจึงราคาแพง

และสำหรับเหตุผลที่ทุกคนคงอยากรู้แล้วว่าทำไมมันถึงเป็นเครื่องเทศที่ราคาแพงที่สุดในโลก ทั้งนี้ก็เป็นเพราะเราต้องใช้ดอกจำนวนมาก เพื่อที่จะเอาเกสรมาอบแห้ง โดยถ้าต้องการเกสร 1 กิโลกรัม จะต้องใช้ดอกมากถึง 100,000 ดอก กันเลยทีเดียว เพราะแต่ละดอกจะมีเกสรเพียง 3 เส้นเท่านั้น ในการเก็บเกี่ยวจะต้องเก็บเกี่ยวด้วยมือเท่านั้นเนื่องจากกลีบดอกมีความบาง และเหี่ยวเร็วมากจึงไม่สามารถใช้เครื่องทุ่นแรงต่าง ๆ ได้ แถมยังเป็นพืชที่เจริญเติบโตยาก อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ค่อนข้างจำกัดทั้งเรื่องดิน ธาตุอาหารในดิน ปริมาณที่จะได้รับในแต่ละวัน รวมไปถึงฤดูต่าง ๆ นี่เป็นเหตุผลที่ทำให้มันมีราคาแพงกระฉูดเทียบได้กับราคาทองคำกันเลยทีเดียวเพราะหนึ่งกิโลกรัมนั้นมีราคาประมาณหนึ่งแสนบาท และประเทศที่มีการปลูกหญ้าฝรั่น และส่งออกหลัก ๆ คือ เยอรมนี สเปน ฝรั่งเศส อินเดีย อิหร่าน แต่สำหรับประเทศไทยนั้นยังไม่มีการปลูก 

หญ้าฝรั่น

หญ้าฝรั่นนั้นไม่เพียงแต่เป็นพืชเครื่องเทศเท่านั้น แต่มันยังมีประโยชน์ทางด้านเภสัชกรรมและยา เช่น เป็นยาขับเสมหะ แก้อาการเกร็ง ขับระดูลดภาวะอารมณ์ทำให้อารมณ์แจ่มใส และลดอาการเจ็บปวด ช่วยกระตุ้นระบบไหลเวียนเลือด เป็นต้น

ติดตามเรื่องราวอื่น ๆ ของต้นไม้ที่น่าสนใจได้ที่ plantlover

You may also like

Leave a Comment