เคยตั้งคำถามกันไหมคะว่า ใบไม้แบบนี้เรียกว่าอะไร ? นั่งดูยูทูบ ดูติ๊กต็อก นั่งส่องต้นไม้ไปเรื่อย ๆ ก็มักจะได้ยินชื่อเรียกลักษณะมากมาย เช่น ใบประกอบขนนก รูปหัวใจ ขอบหยัก ปลายติ่งแหลม พอดูจบไปเจอของจริงก็ต้องมานั่งนึกว่า เอ๊..ตอนนั้นที่เราดูเขาเรียกว่าอะไรน้า หรือพอจะไปค้นหาชื่อเองก็ไม่รู้จะพิมพ์ว่าอะไรดี ต้องย้อนไปหาคลิปเดิมดูอีกครั้ง วันนี้ PlantLover จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกันในแบบฉบับย่อกันค่ะ ไปติดตามกันได้เลย
ใบไม้คืออะไร และมีหน้าที่อะไรบ้าง?
ใบเป็นอวัยวะที่เจริญออกไปบริเวณด้านข้าง โดยมีตำแหน่งอยู่ที่ข้อปล้องของต้นและกิ่ง ส่วนใหญ่มักแผ่แบน มีสีเขียวของคลอโรฟิลล์ ทำหน้าที่หลักในการสังเคราะห์แสงและคายน้ำ รูปร่างและขนาดของแตกต่างกันไปตามชนิดของพืช
หน้าที่หลักคือใช้ในการสังเคราะห์แสง การหายใจ การคายน้ำ และแลกเปลี่ยนแก๊ส พืชที่เจริญในที่แห้งแล้งจะมีวิวัฒนาการลดรูปเปลี่ยนเป็นหนามเพื่อลดการคายน้ำ และเพื่อป้องกันอันตรายจากสัตว์ที่มากัดกิน บางชนิดมีลักษณะอวบน้ำเพื่อเก็บสะสมอาหาร พืชบางชนิดมีก้านพองโตเป็นทุ่น ช่วยพยุงลำต้นให้ลอยน้ำได้เช่น ผักตบชวา พืชที่มีลำต้นเลื้อยพันสิ่งที่อยู่ใกล้ ก็จะมีใบที่วิวัฒนาการเปลี่ยนไปเป็นมือ เพื่อยึดเกาะและพยุงลำต้น เช่น ดองดึง ถั่วลันเตา
ส่วนประกอบ
1. แผ่นใบ มักแผ่แบน มีสีเขียว ส่วนใหญ่มีรูปร่างรี บางชนิดอาจมีรูปร่างกลม รูปหัวใจ รูปพัด แผ่นใบเป็นส่วนสำคัญที่สุด เพราะเป็นส่วนที่สร้างอาหาร บางชนิดมีขนาดเล็กเป็นเกล็ด หรือม้วนเป็นท่อ
2. ก้านใบเป็นส่วนที่เชื่อมต่อระหว่างตัวกับลำต้น มีลักษณะเป็นก้านสั้น ๆ หรือ พืชบางชนิดอาจไม่มีก้าน
3. หูใบเป็นส่วนของระยางค์ที่ยื่นออกมาตรงโคนที่ติดกับลำต้น หูมักมีอายุไม่นานและจะหลุดร่วงไป
กายวิภาคของใบไม้
ลักษณะที่สมบูรณ์นั้นประกอบไปด้วย ก้าน, แผ่น, และ หู ก้านนั้นจะเป็นส่วนต่อมาจากลำต้นบริเวณที่เรียกว่า “ง่ามกิ่งหรือซอก” แต่ก็ใช่ว่าพืชทุกชนิดจะมีตามลักษณะที่กล่าวมาข้างต้น ในพืชบางชนิดคู่หูจะไม่ปรากฏเด่นชัดหรือไม่มีเลย ก้านอาจไม่มีหรือแผ่นอาจไม่เป็นแผ่นแบน ความหลากหลายที่มีมากมายนี้ถูกแสดงในกายวิภาคจากชนิดหนึ่งถึงอีกชนิดหนึ่ง ที่ถูกนำเสนอในรายละเอียดรูปร่างลักษณะ ถือว่าเป็นอวัยวะหนึ่ง ซึ่งประกอบไปด้วย
1. เนื้อเยื่อชั้นผิวที่จะปกคลุมผิวด้านบนและด้านล่าง
2. พาเรงคิมา ภายในที่เรียกว่ามีโซฟิลล์ มีแพลิเซด มีโซฟิลล์ สปองจี มีโซฟิลล์
3. ข้อของเส้น ท่อลำเลียง ไซเล็ม โฟลเอ็ม
4. ปาก
5. เซลล์คุม
6. ผิวเคลือบผิวทินที่ปกคลุมเนื้อเยื่อชั้นผิวอีกที
ชนิดและรูปร่าง
มีด้วยกัน 2 แบบ ได้แก่
1. เดี่ยว คือ ใบที่มีแผ่นเดียวแยกออกมาจากกิ่งหรือก้าน
2. ประกอบ คือ ใบที่ประกอบกันตั้งแต่ 2 ใบขึ้นไป อาจแตกจากกิ่งหรือก้าน
– แบบขนนก (pinnately compound leaves)
– แบบนิ้วมือ (palmately compound leaves)
รูปร่างมีด้วยกัน 10 แบบ ได้แก่
1. รูปหัว
2. รูปสามเหลี่ยม
3. รูปกลม
4. รูปไต
5. รูปไข่
6. รูปแถบ
7. รูปเข็ม
8. รูปหอกกลับ
9. รูปพัด
10. รูปไวโอลิน