เจาะลึกเรื่องของพวงหรีด

by plantlover
พวงหรีด

เมื่อพูดถึงพวงหรีดแล้ว เราก็มักจะนึกถึงงานศพกันอย่างแน่นอน เพราะเป็นการส่งความอาลัยที่นิยมใช้ในงานศพ และถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง เป็นการให้เกียรติแก่ผู้วายชนม์ ซึ่งแต่ละพวงที่จัดตั้งไว้ในงาน ก็มีหลากหลายรูปแบบ ทั้งชื่อคน ชื่อตระกูล หรือชื่อบริษัท ที่เรามักจะคุ้นตาเวลาไปงานศพ รู้กันหรือไม่ว่าที่จริงแล้วมีหลายประเภทด้วยกัน อีกทั้งยังไม่ได้กำเนิดที่ประเทศไทยอีกด้วย ว่าแล้ว Plantlover ก็จะมาพาเพื่อน ๆ มาทำความรู้จักกับพวงหรีดกันอย่างลึกซึ้งกันค่ะ

พวงหรีด

จุดเริ่มต้นของพวงหรีด

มีต้นกำเนิดในแถบทวีปยุโรปตอนใต้ ตั้งแต่สมัยอารยธรรมอีทรัส โดยเริ่มจากการค้นพบมงกุฎทองสำหรับสวมใส่ของนักรบเวลาออกรบเพื่อแสดงถึงเกียรติยศ โดยลวดลายส่วนใหญ่จะเป็นลายใบไม้และดอกไม้ ต่อมาในยุคโรมันก็ได้มีการนำหรีดมาประดับบนศีรษะ ซึ่งถูกเรียกว่า ลอเรลฟรีธ เป็นการนำใบไม้มาสานกัน

พวงหรีด

เข้ามาในประเทศไทยได้อย่างไร ?

เมื่ออารยธรรมตะวันตกเริ่มแพร่หลายอย่างมากในยุคล่าอาณานิคม หรือในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งมีการรับเอาวัฒนธรรมตะวันตกหลายอย่างเข้ามาในประเทศไทย ปรากฏหลักฐานจากภาพถ่ายการนำดอกไม้หลากหลายชนิดมาตกแต่งเป็นพวงกลม ในพระเมรุของสมเด็จพระปิยมาวดีศรีพัชรินทรมาตา หรือเจ้าจอมมารดาเปี่ยม พระสนมเอกในรัชกาลที่ 5 นับแต่นั้นมาทำให้ได้เริ่มแพร่หลายในงานศพของชนชั้นสูงมากขึ้น จนกระทั่งเข้าถึงงานศพชนชั้นกลางไปจนถึงคนทั่วไป ซึ่งถูกนำมาใช้เป็นสื่อแทนความโศกเศร้าตั้งแต่สมัยนั้นค่ะ

พวงหรีด

ความเชื่อ

ความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็คือ การห้ามนำพวงหรีดเข้ามาในบ้านนั่นเอง เรียกว่าเป็นความเชื่อที่ผู้หลักผู้ใหญ่หลายคนให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ในการแสดงถึงความโศกเศร้าและมอบให้กับผู้ที่ล่วงลับเพื่อแสดงความเคารพ เพราะฉะนั้นผู้หลักผู้ใหญ่จึงมักจะถือกันว่าไม่ควรนำเข้ามาภายในบ้าน ไม่อย่างนั้นจะเกิดเรื่องร้าย ๆ ขึ้น

พวงหรีด

พวงหรีดชนิดต่าง ๆ

1. ดอกไม้สดสีต่างๆ

2. ผ้าแพร

3. นาฬิกา

4. พัดลม

5. กระดาษรีไซเคิล

6.ดอกไม้แห้ง

7. ต้นไม้

เนื่องจากถูกมองว่าสิ้นเปลืองและไม่มีประโยชน์ จึงมีการทำจากของเหลือใช้หรือเศษวัสดุบ้าง หรือนำสิ่งของที่จะเป็นประโยชน์ในภายหลังมาทำเป็นพวงหรีดบ้าง หากแต่วัดนั้นไม่สามารถที่จะกำจัดหลังจบงานให้หมดไปได้ บางวัดก็มีล้นจนก่อให้เกิดปัญหาขยะตามมา เพื่อเป็นการลดปัญหาขยะที่จะเกิดเป็นห่วงโซ่ของปัญหาการกำจัดขยะและการดูแลสิ่งแวดล้อมที่หมุนเวียนไปไม่รู้จบ จึงมีการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกับการใช้งานและเข้ากับยุคสมัย แต่มันก็ยังคงความหมายเดิมอยู่ค่ะ นั่นคือการไว้อาลัยแก่ผู้ล่วงลับนั่นเอง

You may also like

Leave a Comment