กัญชายาหรือสารเสพติด

by plantlover
กัญชา

พืชกัญชา มีชื่อเรียกกันโดยทั่วไปว่า cannabis, Ganja, Marijuana หรือบางครั้งก็เรียกว่า Indian Hemp มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Cannabis sativa โดยมีต้นกำเนิดในแถบเอเชียกลาง และสามารถกระจายปลูกได้ในหลาย ๆ ส่วนของโลก เป็นพืชแยกต้นคือ ต้นตัวผู้กับต้นตัวเมีย จากการศึกษาของนักวิจัยพบว่ามันมีสารสำคัญคือ สารแคนนาบินอยด์ สารเตตร้าไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol-THC) เป็นสารที่ไปทำหน้าที่กระตุ้นประสาท ซึ่งปริมาณสาร THC จะมีมากหรือน้อยขึ้นกับสายพันธุ์ สภาพแวดล้อมที่ปลูก วิธีการปลูก และส่วนต่าง ๆ ของต้นที่นำมาใช้ โดยที่ส่วนของช่อดอกและใบ จะมีสารดังกล่าวมากที่สุด 

กัญชา

ลักษณะทั่วไปของกัญชา

พืชกัญชาเป็นพืชล้มลุกหรือจำพวกหญ้า โดยเราจะสังเกตเห็นใบที่มีลักษณะเป็นแฉกคล้ายใบ มันสำปะหลังใบหนึ่งประมาณ 5-8 แฉก ขอบใบมีลักษณะเป็นเหมือนฟันเลื้อยหยักเล็ก ๆ ขนาดของต้นนั้นประมาณ 2-4 ฟุต และจัดเป็นพืชดอกโดยดอกของต้นตัวเมียนั้นจะผลิตเรซิน ซึ่งเรียกว่า ยางกัญชา (Hashish) มีสาร THC ประมาณ 0.5 – 7 % โดยกลุ่มที่มีการใช้กัญชาจำนำยางมาหลอมรวมและควบแน่นเป็นก้อนยางมีสีน้ำตาลเข้มโดยสามารถนำมาเสพได้และอย่างที่เราทราบกันอยู่แล้วว่าสำหรับกฎหมายไทยนั้นจัดกัญชาอยู่ในการควบคุมของพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 กลุ่มยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 

กัญชา

ข้อเสีย

สำหรับการเสพกัญชานั้นนิยมเสพโดยวิธีการสูบ เมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายสารจะเข้าสู่กระแสเลือดภายใน 2-3 นาที และจะออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท อาการเคลิ้มทางจิตทำให้ผู้เสพรู้สึกเงียบสงบ ล่องลอย หลังจากนั้นมักจะมีอารมณ์แปรปรวนอย่างกะทันหันเดี๋ยวก็หัวเราะลั่น สับสน สักพักก็สงบ เราจึงเรียกอาการนี้ว่า “อาการบ้ากัญชา” แต่ในบางรายจะมีอาการตึงเครียด วิตกกังวล สำหรับอาการอื่น ๆ ที่แสดงออกทางร่างกาย เช่น ปากแห้ง อยากอาหาร ชีพจรเต้นเร็วขึ้น ตาแดง และหากเสพเป็นประจำจะส่งผลเสียต่อร่างกายทำให้สุขภาพเสื่อมลง อาจเป็นโรคหลอดลมอักเสบเพราะควันจากการสูบ และโรคที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจโดยรวมแล้วฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาจะคล้ายกับยากระตุ้นประสาท ยาที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ยากดประสาท ยาแก้ปวด ยาหลอนประสาท และนอกจากนี้มันยังออกฤทธิ์คล้ายแอลกอฮอล์มีอีกด้วย เป็นพืชที่ต้องระมัดระวังในการใช้อย่างมาก

กัญชา

ข้อดี

แต่ทั้งนี้ก็เป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นพืชที่มีประโยชน์ทางการแพทย์ เนื่องจากมันเป็นพืชที่มีสารที่มีผลต่อระบบประสาทดังนั้นจึงมีหลายประเทศนำมาเป็นพืชบำบัดรักษาโรคระบบประสาท และอาการจิตเวช รักษาอาการไม่อยากอาหารในผู้ป่วยมะเร็ง กฎหมายบางประเทศจึงยอมให้มีการปลูกเพื่อจะนำมาใช้ในทางการแพทย์ เช่น สหราชอาณาจักร แคนาดา เนเธอร์แลนด์ อิสราเอล สวิสเซอร์แลนด์ และบางรัฐในประเทศสหรัฐอเมริกา นับว่าเป็นพืชที่มีทั้งคุณและโทษเชนกัน

ติดตามเรื่องราวอื่น ๆ ของต้นไม้ที่น่าสนใจได้ที่ plantlover

You may also like

Leave a Comment