ข่าวดีจากกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พศ. 2564 ที่ผ่านมาได้ประกาศผ่าน Facebook Fan page ว่าได้ค้นพบพืชชนิดใหม่ของโลกโดยตั้งชื่อ Cute Star Flower หรือ “ดาราพิลาส” สถานที่พบคืออุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาว ตำบลหงาว อำเภอเมือง จังหวัดระนอง
การค้นพบ “ดาราพิลาส”
“ดาราพิลาส” นั้นมาจากการตั้งชื่อตามลักษณะของดอก ที่ดอกของมันนั้นเป็นแฉกคล้ายรูปร่าง ของดวงดาว และมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lasianthus ranongensis Sinbumroong & Napiroon คำระบุชนิด ranongensis นั้นตั้งให้เป็นเกียรติแก่ จังหวัดระนองซึ่งเป็นสถานที่พบครั้งแรก และตามด้วยชื่อของผู้ค้นพบ Sinbumroong & Napiroon คือ นายอรุณ สินบำรุง นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ จังหวัดสุราษฎร์ธานี สำหรับชื่อนั้นถูกตั้งโดย ดร.ทิวธวัฒ นาพิรุณ อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมีนายมานพ ผู้พัฒน์ นักวิชาการป่าไม้ ชำนาญการ ร่วมให้คำปรึกษาหรือข้อมูลเรื่องอนุกรมวิธานในครั้งนี้อีกด้วย นอกจากนี้ ยังได้รับการตีพิมพ์ เผยแพร่ ในสหรัฐอเมริกา เป็นวารสารวิชาการทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพด้านชีววิทยาพืช PeerJ (Section Plant biology) และการวิจัยในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากโครงการ Flora of Thailand อีกด้วย เมื่อเราทราบชื่อเสียงเรียงนามของผู้ค้นพบแล้ว เรามาทำความรู้จักกับเพื่อนร่วมโลกชนิดใหม่กันเลยดีกว่า
ลักษณะของ “ดาราพิลาส”
ดาราพิลาสนั้นเป็นหนึ่งในสมาชิกวงศ์เข็มหรือวงศ์กาแฟ (Rubiaceae) จัดอยู่ในสกุลเดียวกับ กำลังเจ็ดช้างสาร นั้นอย่างที่บอกไปแล้วว่าชื่อของมันมาจากลักษณะของดอกที่สวยงา มและมีรูปร่างคล้าย ดวงดาวโดยมีประมาณ 6 หรือ 7 แฉกบานเปล่งประกาย ในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน แต่โดยปกติ นั้นพืชในกลุ่มนี้จะมีจำนวนของกลีบดอกอยู่ที่ประมาณ 4-5 กลีบดอก หากมากกว่านี้ก็จะเป็นสองเท่าคือ 8-10 กลีบ ซึ่งเป็นไปตามลักษณะพืชใบเลี้ยงคู่ ทั่วไปที่มีให้เห็นอยู่ในป่าเขตร้อนของประเทศไทย
ดังนั้น หากนำจำนวนกลีบดอกมาพิจารณาหรืออนุกรมวิธานจากตามหลักพฤกษศาสตร์แล้ว ดอกของมันอาจดูผิดแผกไป นอกจากนี้ในสกุลนี้หลายชนิดเป็นพืชสมุนไพรป่าที่มีสารสำคัญทางยา เช่น พบสารสโคโปเลตินในปริมาณที่สูง
และการที่ดาราพิลาสนั้นได้จัดเป็นพืชชนิดใหม่ของโลก ดังนั้น มันต้องมีลักษณะที่ต่างออกไป จากพืชชนิดเดิม ๆ ที่ได้มีการค้นพบหนึ่งในนั้นคือ ลักษณะของอวัยวะสืบพันธุ์ที่แตกต่างจากพืชสกุลเดียวกัน อย่างชัดเจน รวมถึงส่วนประกอบอื่น ๆ เช่น ลักษณะรูปร่างของใบ ลักษณะหูใบ ลักษณะของกลีบเลี้ยง
ขนที่ปกคลุมพื้นผิวของกลีบดอกมีลักษณะคล้ายสายสร้อยลูกปัด เป็นต้นการแสดงออกของ
ลักษณะเหล่านี้ล้วนถูกควบคุมโดยพันธุกรรม ทำให้ดาราพิลาส มีเอกลักษณ์เฉพาะชนิดได้ เป็นอย่างดี แต่เนื่องจากดาราพิลาสมีถิ่นอาศัยที่มีความจำเพาะเจาะจง ต่อการดำรงชีวิต แถมยังมีขนาด กลุ่มประชากรขนาดเล็ก จึงมีความเสี่ยงต่อการลดลงของจำนวนประชากรได้ ดังนั้น หน่วยงานของ กรมอุทยานแห่งชาติฯ จึงพยายามระดมแนวคิดและหาวิธีเพิ่มจำนวนดาราพิลาส โดยอาจมีการใช้เทคโนโลยี ชีวภาพเข้าไปสนับสนุน และระมัดระวังให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด
ติดตามเรื่องราวอื่นๆ ของต้นไม้นานาชนิดที่น่าสนใจได้ที่ plantlover