มอสส์พืชชั้นต่ำ 1 ในพืชปกคลุมแผ่นดินที่กว้างใหญ่

by plantlover
มอสส์

    “มอสส์พืชชั้นต่ำ” หากมีใครมาบอกเราเป็นคนชั้นต่ำ เราเองก็คงจะรู้สึกโกรธเคืองไม่ใช่น้อย แต่ที่จริงแล้วคำว่าชั้นต่ำในที่นี่มาจากการที่นักวิทยาศาสตร์ได้จัดอนุกรมวิธานให้กับพืช โดยอาศัยในด้านของวิวัฒนาการ โครงสร้าง สรีรวิทยา สัณฐานวิทยา เป็นต้น หลายคนอาจรู้จักมอสส์ หรือเคยพบเห็นตามป่าหรือตามบริเวณบ้านที่ชื้นแฉะ โดยจะมีลักษณะเหมือนหญ้าต้นเล็ก ๆ เกิดติดกันเป็นแผ่นสีเขียว ซึ่ง บางคนอาจเหมารวมเรียกว่าเป็นตะไคล่น้ำ นั่นเอง

มอสส์คืออะไร

    มอสส์ถูกนักพฤษศาสตร์จัดว่าเป็น Division Bryophyta เป็นพืชที่มีวิวัฒนาการต่ำที่สุด เนื่องจากเป็นพืชที่ไม่มีท่อลำเลียง (Nonvascular plant) และไม่มีราก ใบ ลำต้นที่แท้จริง ซึ่งปกติพืชที่เราเห็นมักจะมีรากไว้สำหรับดูดน้ำและแร่ธาตุในดิน แต่ไม่มีราก ดังนั้น จึงต้องอาศัยอยู่ที่ชื้นแฉะ เพื่อให้เซลล์ได้รับน้ำอยู่ตลอดเวลา

มอสส์

    จากข้างต้นที่กล่าวมาว่า มอสส์เป็นพืชที่ไม่มีท่อลำเลียง (Nonvascular plant) ไม่มีราก ใบ และลำต้นที่แท้จริง แต่หลายคนอาจสังเกตเห็นว่ามันเหมือนจะมีจะมีราก มีใบสีเขียว และมีต้นเล็ก ๆ ชูขึ้นมาเหมือนพืชอื่น ๆ แต่ความจริงโครงสร้างที่เราเห็นนั้นคือส่วนที่คล้ายรากเรียกว่า          ไรซอยด์ (Rhizoid) จะทำหน้าที่ยึดเกาะกับวัตถุ ส่วนที่เป็นก้านคล้ายกับลำต้นเรียก Caulid และส่วนที่คล้ายใบเรียกว่า Phyllid หากลองสังเกตดี ๆ เราจะพบว่าที่ปลายยอดจะมีลักษณะคล้ายกระเปาะเล็ก ๆ อยู่ กระเปาะนั้นเราเรียกว่า Capsule ภายในจะมีเซลล์สืบพันธุ์ยู่ เราจึงถือว่ากระเปาะนั้นเป็นอวัยวะสืบพันธ์ของมอสส์นั่นเอง บริเวณปลายแคปซูลจะมีลักษณะคล้ายหมวกปิดอยู่เรียก Calyptra  โดยเมื่อถึงช่วงสืบพันธุ์ Calyptra จะเปิดออกเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้หรือสเปิร์ม (Sperm) จะว่ายน้ำไปผสมกับเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียหรือเซลล์ไข่ (Egg cell) และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่มอสส์นั้นจำเป็นต้องอาศัยอยู่ในที่ชื้นแฉะ เพื่อให้สเปิร์มว่ายน้ำไปหาเซลล์ไข่ได้

มอสส์

วงจรชีวิต

มอสส์จะมี 2 ระยะคือ ระยะแกมีโตไฟต์กับระยะสปอร์โรไฟต์ โดยวงจรชีวิตของมอสส์ จะเป็นพวกที่มีระยะแกมีโตไฟต์ที่เด่น ซึ่งระยะแกมีไฟต์คือส่วนที่เรามองเห็นเป็นสีเขียวนั่นเอง
จึงไม่แปลกเลยที่เราจะพบว่าบริเวณที่ชื้นแฉะที่มีพืชสีเขียวเกิดขึ้นเป็นแผ่นหรือเป็นพรมจำนวนมาก เนื่องจากระยะแกมีโตไฟต์จะเด่นกว่าระยะสปอร์โรไฟต์ที่มีลักษณะเป็นก้านชูขึ้นมา

    “ถึงแม้ว่าจะเป็นพืชชั้นต่ำและมีขนาดเล็กแต่พอมารวมตัวกัน มอสส์ก็กลายเป็นพืชที่สามาถปกคลุมแผ่นดินที่กว้างใหญ่ได้”

อ่านเรื่องอื่นเพิ่มเดิมได้ที่ plantlover.net

You may also like

Leave a Comment