ต้นกาบหอยแครง เป็นพืชกินสัตว์ที่สามารถดักจับและย่อยกินเหยื่อที่จับได้ ซึ่งส่วนมากจะเป็นสัตว์ขนาดเล็กจำพวกแมลงและแมงต่าง ๆ ต้นกาบหอยแครงมีโครงสร้างกับดักคล้ายคลึงกับบานพับที่แบ่งออกเป็น 2 กลีบ อยู่ที่บริเวณปลายของใบแต่ละใบ และยังมีขนกระตุ้นบาง ๆ บนพื้นผิวด้านในของส่วนใบที่เป็นกับดัก เมื่อมีแมลงหลงเข้ามาสัมผัสขนกระตุ้น 2 ครั้ง กับดักจะทำการงับเข้าหากัน วิธีการกระตุ้นการทำงานที่ซับซ้อนนี้ ก็เพื่อเป็นการป้องกันการสูญเสียพลังงาน ไปกับการดักจับสิ่งอื่นที่ไม่ใช่อาหารนั่นเอง ต้นไม้กินแมลงต้นนี้จะมีลักษณะเป็นอย่างไร วันนี้ PlantLover จะพาทุกคนไปทำความรู้จักพวกมันกันค่ะ ไปติดตามกันได้เลย
ลักษณะทั่วไปของต้นกาบหอยแครง
ต้นกาบหอยแครง เป็นต้นไม้กินแมลง เช่นเดียวกับต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง สามารถพบได้ตามริมหนองน้ำต่าง ๆ ที่มีความเปียกชื้น มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา กาบจะมีขนาดอยู่ที่ 3 เซนติเมตร ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน และจะมีซี่ฟันทั้งหมดอยู่ที่ประมาณ 20 อันค่ะ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ด้วยเช่นกัน กาบของต้นไม้กินแมลงต้นนี้จะมีความแตกต่างกันไป และจะมีแถบเล็ก ๆ บริเวณฟัน ส่วนนี้จะทำหน้าที่ผลิตน้ำหวานเพื่อล่อแมลง ใบจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาลค่ะ ช่วงฤดูร้อน ต้นก็จะผอมหน่อย กาบก็จะยาวขึ้น ใบมีความยาวอยู่ที่ 6 นิ้วโดยประมาณ ดอกจะออกประมาณเดือนมีนาคมไปจนถึงเดือนกรกฎาคมค่ะ ก้านของดอกสามารถสูงได้ถึง 10 นิ้วเลย ดอกส่วนใหญ่จะมีสีขาว อาจจะมีสีแสด สีแดงบ้าง ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ค่ะ รากจะเป็นเหง้า มีความลึกอยู่ที่ 5 นิ้ว
ข้อมูลการเพาะพันธุ์ต้นกาบหอยแครง
วัสดุที่ใช้แนะนำให้เลือกใช้วัสดุที่มีความโปร่ง และสามารถระบายน้ำได้ดี ที่สำคัญจะต้องมีกาบมะพร้าวสับและสแฟกนัมมอส แนะนำให้เปลี่ยนทุก ๆ หนึ่งปีค่ะ ต้นไม้กินแมลงต้นนี้จะต้องการแสงแดดในหนึ่งวันประมาณ 5 ชั่วโมง ต้องการน้ำอยู่ตลอดเวลา เราจะต้องรดน้ำให้ชุ่มเลยค่ะ ต้นไม้ต้นนี้สามารถทนแดดได้ก็จริง แต่เราจะต้องดูความชื้นที่อยู่ในอากาศด้วย ให้รดน้ำอย่างน้อยวันละสองครั้งจะดีค่ะ
นอกจากความสวยงามแล้ว ต้นไม้ต้นนี้ยังมีสรรพคุณทางยาอีกด้วยนะคะทุกคน ในตำรายาได้บอกเอาไว้ว่า เราสามารถนำมาต้มและดื่มได้ บรรเทาอาการร้อนในและสามารถแก้ฟกช้ำได้ค่ะ แต่ก่อนที่จะทานอยากให้ทุกคนศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนนะคะ เพื่อความปลอดภัยของตัวเราเองด้วย สำหรับข้อมูลในวันนี้ PlantLover หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับคนที่เข้ามาอ่านไม่มากก็น้อยนะคะ แล้วพบกันใหม่ในบทความต่อไป สวัสดีค่ะ