สมุนไพรแห่งความหวัง โกฐจุฬาลัมพา

by plantlover
โกฐจุฬาลัมพา

ก่อนอื่น PlantLover อยากให้ทุกคนเข้าใจก่อนว่า โกฐจุฬาลัมพา เป็นชื่อของสมุนไพรที่ได้จากพืชชนิดใด ในอดีตมีการเข้าใจกันว่า เป็นเครื่องยาที่ได้จากพืชในวงศ์ COMPOSITAE มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและญี่ปุ่น ปัจจุบันมีการกระจายพันธุ์ไปในเขตหนาวและเขตอบอุ่นทั่วโลก พืชในสกุลนี้มีมากกว่า 500 สายพันธุ์ ในเอกสารอ้างอิงทางสมุนไพรที่เป็นปัจจุบันที่สุดคือ “ตำราอ้างอิงยาสมุนไพรไทย เล่ม 1” (2552) อธิบายว่า โกฐจุฬาลัมพา คือ ส่วนเหนือดินแห้งในระยะออกดอกของ A. annua ในขณะที่เครื่องยาที่เรียกว่า “โกศจุฬาลัมพาไทย” จะเป็นส่วนเหนือดินของ A. pallens หรือ A.vulgaris var. indica และเครื่องยาที่ใช้สำหรับการรักษาด้วยวิธีรมยา (moxibusion) ที่มักมีผู้เรียกผิดว่า “โกศจุฬาลัมพา” จะได้จากใบของ A. argyi วันนี้ PlantLover จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับสมุนไพรแห่งความหวังชนิดนี้กัน ไปติดตามกันได้เลย

โกฐจุฬาลัมพา

ลักษณะทั่วไปโกฐจุฬาลัมพา

เป็นไม้ล้มลุกอายุปีเดียว ทั้งต้นมีกลิ่นแรง ลำต้นอ่อนแตกกิ่งก้านมาก เป็นใบเดี่ยว เรียงเวียน มีต่อมโปร่งแสง ใบบริเวณโคนต้นรูปไข่หรือรูปสามเหลี่ยมแกมรูปไข่ ขอบใบหยักลึกแบบขนนก แฉกใบจักฟันเลื่อยลึกรูปสามเหลี่ยม เส้นกลางใบเด่นชัด ทางด้านบน แกนกลางใบมีปีกแคบ อาจเป็นจักฟันเลื่อยเล็กน้อยหรือเรียบ ใบบริเวณกลางต้นหยักลึกแบบขนนก รวมทั้งใบประดับหยักลึกแบบขนนก

โกฐจุฬาลัมพา

องค์ประกอบทางเคมี

องค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญของโกฐจุฬาลัมพาคือ สารกลุ่มเซสควิเทอร์พีนแล็กโทนชื่อ สารชิงเฮาซู สารอาร์เทแอนนิวอิน หรือสารอาร์เทมิซินิน สารนี้แสดงฤทธิ์ต้านมาลาเรียชนิดฟัลชิปารุม และชนิดไวแวกซ์ โดยเฉพาะสายพันธุ์ที่ดื้อยา นอกจากนี้ยังพบว่าเครื่องยาชนิดนี้ยังมีสารกลุ่มฟลาวานอยด์หลายชนิด ซึ่งช่วยเสริมฤทธิ์ต้านเชื้อไข้จับสั่นกับสารอาร์เทมิซินิน ส่วนในน้ำมันระเหยหอม ยังมีสารที่เป็นองค์ประกอบหลัก ได้แก่ alpha-pinene  ,camphene  ,β-pinene , myrcene , 1,8-cineole ,artemisia ketone  ,linalol , camphor,borneol ,และβ–caryophyllene

โกฐจุฬาลัมพา

การศึกษาทางเภสัชวิทยา

1. ฤทธิ์ต้านเชื้อมาลาเรีย 

การทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อมาลาเรียในหลอดทดลอง ที่ได้จากแหล่งต่าง ๆ ของประเทศบราซิล โดยวิธีการแช่เตรียมสารทดสอบโดยใช้ผงใบ 5 กรัม แช่สกัดในน้ำเดือด ปิดฝา และตั้งทิ้งไว้เป็นเวลา 15 นาที แล้วนำไปกรอง ทดสอบสารสกัดเพื่อดูความไวของสารทดสอบต่อเชื้อ Plasmodium falciparum สายพันธุ์ K1 และ 3d7 จากประเทศบราซิล ซึ่งดื้อต่อยาคลอโรควีน แต่ไวต่อยาควินินและอาร์ทีมิซินิน ผลจากการทดสอบพบว่าสารสกัดใบด้วยวิธีการแช่สกัดจากทั้ง 4 แหล่ง ออกฤทธิ์ดีในการยับยั้งเชื้อ P. falciparum สายพันธุ์ K1 และ 3d7

2. ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์อะซิทิลโคลีนเอสเทอเรส 

ทดสอบการยับยั้งเอนไซม์อะซิทิลโคลีนเอสเทอเรสในหลอดทดลอง เป็นเอนไซม์ที่ทำลายสารสื่อประสาท acethylcholine ในสมอง ที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้และความจำ จึงเป็นเป้าหมายในการรักษาโรคความจำเสื่อมอัลไซเมอร์ ทดสอบด้วยวิธี Ellman’s colorimetric method ผลการทดสอบพบว่า สารสกัดเอทานอลส่วนเหนือดิน ใบและกิ่ง ก่อนออกดอก ที่ความเข้มข้น 1 mg/mL สามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อะซิทิลโคลีนเอสเทอเรสได้ พบว่ามีศักยภาพในการนำมาพัฒนายาที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ รวมถึงใช้ในโรคที่มีความผิดปกติของระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับไนตริกออกไซด์ และเอนไซม์โคลีนเอสเทอรเรสได้

3. ฤทธิ์ระงับอาการปวด 

การศึกษาทางคลินิกที่ยืนยันถึงประสิทธิผลและความปลอดภัย ของการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนผสมของสารสกัด ที่ใช้ระงับอาการปวดและอาการข้อแข็ง ในผู้ป่วยโรคที่ข้อสะโพกหรือเข่าเสื่อม ผลการทดสอบพบว่า อาสาสมัครกลุ่มที่ได้รับสารสกัดขนาด 150 mg มีอาการดีขึ้น อาการปวดลดลง

You may also like

Leave a Comment